Translate

งานวิชาห้องสมุด



ความหมายของสมุนไพร

คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น


อ้างอิง วิกิพีเดีย



สมุนไพร หมายถึง “พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช
สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ” ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพร
ให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผง เป็นต้น
  สมุนไพร นอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีก
เช่นนำมาบริโภคเป็นอาหาร อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร และสีย้อม ตลอดจนใช้ทำ
เครื่องสำอางอีกด้วย

            การ ใช้สมุนไพรเป็นยาบำบัดโรคนั้นอาจใช้ในรูปยาสมุนไพรเดี่ยวๆหรือใช้ในรูปตำรับ ยาสมุนไพร
ปัจจุบันตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาติให้ใช้ รักษาโรคได้
มีทั้งหมด 28 ขนาน เช่น

            ยาจันทน์ลีลา                              ใช้แก้ไข้ แก้ตัวร้อน

            ยามหานิลแท่งทอง                      ใช้แก้ไข้ แก้หัด อีสุกอีใส

            ยาหอมเทพพิจิตร                       แก้ลม บำรุงหัวใจ

            ยาเหลืองปิดสมุทร                      แก้ท้องเสีย

            ยาประสะมะแว้ง                          แก้ไอ ขับเสมหะ

            ยาตรีหอม                                  แก้ท้องผูกในเด็กระบายพิษไข้

สำหรับสมุนไพรที่นิยมใช้เดี่ยวๆ รักษาอาการของโรคที่พบบ่อยๆ ได้แก่

            สมุนไพรแก้ไข้                           ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด

            สมุนไพรแก้ท้องเสีย                    กล้วยน้ำว้า ทับทิม ฝรั่งดิบ

            สมุนไพรแก้ไอ                            มะแว้ง ขิง มะนาว

            สมุนไพรแก้ท้องอืด                     ท้องเฟ้อ ขมิ้นชัน แห้วหมู กระชาย

            สมุนไพรช่วยให้นอนหลับ            ขี้เหล็ก ดอกบัวหลวง หัวหอมใหญ่

            สมุนไพรแก้เชื้อรา                      กระเทียม ข่า ชุมเห็ดเทศ

            สมุนไพรแก้เริม                          เสลดพังพอนตัวเมีย และตัวผู้

            แนวคิดโฆษณารณรงค์ “สมุนไพรไทย” ต้อง การสื่อสารว่าสมุนไพรไทยพื้นบ้านนั้นนำมาเป็น
ยารักษาโรคได้หลายหลายชนิด และยังหาได้ง่ายๆรอบๆบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ฟ้าทะลายโจรที่รักษาอาการไข้
กิ่งข่อยรักษาโรคเหงือก ใบพลับพลึงรักษาอาการฟกช้ำ หรือ ปูนแดงใช้ห้ามเลือด โดยดำเนินเรื่องแบบ
Realistic ผ่าน ตัวละครน่ารักๆ สองคน คือคุณยายและคุณทวด เป็นแม่ลูกซึ่งอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน
เหตุการณ์เกิดขึ้นภายในบ้านเล็กๆหลังหนึ่ง ซึ่ง คุณยายและคุณทวด ผลัดกันเกิดอาการต่างๆ และ
รักษาอาการด้วยสมุนไพรรอบๆบ้าน



แหล่งทีมา : http://www.thaihealth.or.th/node/2058


พืชไล่ยุง

สารป้องกันยุงกัด

ใช้ทาผิว หนัง เนื่องจากมีกลิ่นที่ยุงไม่ชอบ ทำให้ยุงบินหนีไปไม่เข้ามาใกล้ (มีคุณสมบัติเป็น repellent) จึงช่วยป้องกัน มิให้ยุงกัด สารนั้นอาจเป็นพิษหรือไม่เป็นพิษต่อยุงก็ได้ สารป้องกันยุงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. สารที่สกัดได้จากพืช เช่น น้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันจากต้นยูคาลิปตัส เป็นต้น
2. สารที่สังเคราะห์ขึ้นมา เช่น N,N-diethyl-m-toluamide; 2-ethyl-1,3-hexanediol และ 1,1-carbonylbis (hexahydro-1H-azepine) เป็นต้น


สารป้องกันยุงกัดที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. ไม่เป็นอันตรายหรือทำความระคายเคืองต่อผิวหนังและอวัยวะอื่น ๆของร่างกาย
2. ป้องกันยุงกัดได้เป็นเวลานานพอควร
3. สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยที่คุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง
4. ไม่มีสี ไม่เปรอะเปื้อนเสื้อผ้า
5. ไม่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง (สำหรับคน)
6. ใช้ง่ายและสะดวก
7. ไม่เหนียวเหนอะหนะ ชำระล้างออกได้ง่าย
8. ราคาไม่แพง


ตัวอย่างพืชที่มีคุณสมบัติใช้ไล่ยุงหรือป้องกันยุงกัดได้ เช่น
มะกรูด
ไพลเหลือง
สะระแหน่
กระเทียม
กะเพรา
ว่านน้ำ
แมงลัก
ตะไคร้หอม
ยูคาลิปตัส

ต้นไม้กันยุง  



การทำธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง ตอนที่1 

การทำธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง
บทนำ
 

     ที่มาและความสำคัญ
            ในปัจจุบันนี้คนไทยเสียชีวิตเพราะโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมากและโรคไข้เลือดออกจะระบาดในฤดูฝน
     และมียุงเป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกมาสู่เรา   กลุ่มของข้าพเจ้าจึงได้จัดทำโครงงานเกี่ยวกับการทำธูปไล่
     ยุงจากสมุนไพร โดยใช้ประโยชน์จากสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในการไล่ยุงซึ่งนำสมุนไพรเหล่านั้นมาทำเป็นส่วน
     ผสมหลักของธูปหอม  เนื่องจากสมุนไพรเหล่านั้นมีกลิ่นแรงซึ่งยุงจะไม่ชอบ  เช่น ตะไค้รหอม เปลือกส้ม  ผิวมะกรูด      เป็นต้น  ซึ่งนอกจากจะเป็นการไล่ยุงแล้วยังส่งผลดีกับเราเพราะธูปยังส่งกลิ่นหอม สมุนไพรชนิดต่างๆอีกด้วย
       
    วัตถุประสงค์ในการทำโครงงาน
       1.  ต้องการทำสมุนไพรไล่ยุง โดยใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติิ
       2.  ได้รู้จักนำสมุนไพรไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
       3.  ได้รู้จักนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวสารเคมีมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน
       4.  ประหยัดและปลอดภัยจากสารพิษ
        
     ผลที่คาดว่าจะได้รับ

        1.  ได้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
        2.  สามารถนำความรู้นี้ไปประกอบรายได้เสริม
        3.  ได้เป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ลดใช้มลภาวะ                              

ลำดับที่ี่
แผน/ขั้นตอน/วิธีการดำเนินงาน
ระยะเวลา
ผลการดำเนินงาน
1.
        เลือกโครงงาน
1 สัปดาห์
ได้โครงงานทำธูปหอมไล่ยุงสมุนไพร
2.
ช่วยกันตั้งชื่อโครงงาน    
10  นาที
ชื่อ  Mosquito
3.
เริ่มวางแผนว่าจะทำสมุนไพร
ชนิดใดบ้าง
1  วัน
สมุนไพรทุกชนิดที่มีอยู่ในบ้านของสมาชิกทุกคน
4.
วางแผนเกี่ยวกับระยะเวลาในการ
ทำงานและสถานที่การทำงาน
เตรียมสมุนไพร
  1วัน
ได้นัดหมาย วันเวลาที่จะไปทำโครงงาน
5.
นำสมุนไพรมาอบแล้วปั้นให้ละเอียด
และทดลองทำธูปเป็นครั้งแรก
4 ชั่วโมง
ได้เตรียมสมุนไพรโดยนำมาหั่นแล้วตากแดดไว้จนได้สมุนไพรตากแห้ง
การทำธูปในครั้งแรกไม่สำเร็จยังคงมีข้อผิดพลาดอยู่บางเรื่อง
6.
ทำธูปหอมสมุนไพรครั้งที่ 2
5  ชั่วโมง
การทำธูปหอมครั้งที่ 2ได้ผลตามที่ต้อง

                       วิธีทำ
 
         1.   นำผงสมุนไพรที่ได้มาใส่ลงในถ้วยที่สะอาด 2 ช้อนโต๊ะ
         2.   นำผงขี้เลื่อยมาผสมกับสมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ และผสมกับถ่านที่บดอีก 1 ช้อนโต๊ะ
         3.   นำสมุนไพรที่ผสมแล้วมาคุกเคล้ากับแป้งเปียก
         4.   เนื้่อสมุนไพรที่ผสมกับแป้งเปียกจนเข้ากันแล้วนำมาปั้น                                
         5.   นำธูปที่ได้มาลองอบก่อน  เพื่อทดสอบว่าสามารถใช้ได้หรือไม่
              (ที่นำมาอบนั้นเพื่อเราจะได้รู้ผลเร็วกว่าตากแดดจนแห้ง)
         6.   เมื่อผลการทดลองได้ตามต้องการแล้วก็ปั้นแล้วนำมาตากแดดซักประมาณ  3-4 วัน  

              การทดลองครั้งที่ 1
  อุปกรณ์
   ผงสมุนไพร  ได้แก่  ตะไคร้  ขมิ้น  ขิง  เปลือกส้ม  เปลือกส้มโอ          
ผิวมะกรูด  ข่า  แป้งข้าวเหนียว
   ขี้เลือย  ถ่านและสีผสมอาหาร
         ขั้นตอนการทำแป้งเปียก
     1.  นำน้ำไปต้มในหม้อปริมาณน้ำ 2 แก้ว
     2.  นำแป้งข้าวเหนียวใส่ลงไปในน้ำปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ
     3.  คนไปเรื่อยๆจนเหนียว
     4.  แล้วยกออกมาคนต่อเรื่อยๆจนหายร้อน
     5.  สังเกตดูแป้งถ้าแป้งยังไม่เหนียวพอให้เติมแป้งลงไปเพิ่ม
     6.  ก็จะได้แป้งที่มีคุณสมบัติเหมือนกาว
            ขั้นตอนการทำธูป
     1.  นำผงสมุนไพร ขี้เลือยและถ่านมาผสมกันแล้วคนให้เข้ากัน
     2.  นำแป้งเปียกมาใส่ลงไปเล็กน้อยและคนให้เข้ากันอีกครั้ง
     3.  นำสีผสมอาหารมาผสมเข้าด้วยกัน
     4.   สังเกตว่าแป้งเปียกกับสมุนไพรสามารถใช้ได้หรือยัง จากนั้นนำมาปั้นเป็นรูปกรวย
     5.  นำไปอบที่อุณหภูมิอ 10 องศา  ใช้เวลาอบ  2  นาที
     6.   ทดลองจุดว่าสามารถใช้ได้ไหม
            ผลการทดลอง
      1.  ธูปที่ได้มีลักษณะแตกราว จุดไม่ติด
      2.  ผลจากการผ่านอบทำให้รูปทรงของธูปเปลี่อนแปลงไปจากตอนปั้นโดยขยายตัวขึ้นทำให้ไม่เป็นรูปทรง
           และไม่ีสวยงาม






การทดลองครั้งที่ 2

อุปกรณ์๋์ืืื์์์์์์์์์์์์์์์์์์์์์
       ผงสมุนไพร  ได้แก่  ตะไคร้  ขมิ้น  ขิง  เปลือกส้ม  เปลือกส้มโอ  ผิวมะกรูด
   ข่า  แป้งข้าวเหนียว  ขี้เลื่ือย  ถ่านและสีผสมอาหาร

ขั้นตอนการทำแป้งเปียก
        1. นำน้ำไปต้มในหม้อปริมาณ 2 แก้ว
        2. นำแป้งข้าวเหนียวใส่ในนำ้ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ
        3. คนไปเรื่อยๆ จนเหนียว
        4. แล้วยกออกมาคนต่อไปเรื่อยๆ จนหายร้อน
        5. สังเกตดูแป้ง  ถ้าแป้งยังไม่เหนียวพอให้เติมแป้งลงเพิ่ม
        6. ก็จะได้แป้งที่มีคุณสมบัติเหมือนกาว

ขั้นตอนการทำธูป
        1. นำผงสมุนไพร  ขี้เลื่อย  และถ่านมาผสมคนให้เข้ากัน
        2. นำแป้งลงใส่เล็กน้อยและคนให้เข้ากันอีก
        3. นำสีผสมอาหารมาผสมขเ้าด้วยกัน
        4. สังเกตว่าแป้งเปียกกับสมุนไพรสามารถใช้ได้หรือยัง  จากนั้นนำมาปั้นเป็นรูปกรวย
        5. นำไปอบที่อุณหภูมิ 8 องศา  ใช้เวลาอบ 1 นาที
        6. ทดลองจุดว่าใ้ได้ไหม

ผลการทดลอง
        1. ธูปที่ได้ไม่แตกร้าว
        2. ไม่สามารถจุดธูปติด
        3. เมื่อทำเสร็จธูปไม่เปลี่ยนรูป
        4. ได้ธุปที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าท้องตลอดและสวยงาม

สรุปผลและอภิปรายผลการดำเนินการ
         

       จากการที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้ใช้สมุนไพรที่มีกลิ่นเฉพาะสามารถไล่ยุงได้ เช่น มะกรูด ส้ม ตะไคร้หอม   มาแปรรูปให้เป็นผงสมุนไพรจากนั้นก็มาสู่ขั้นตอนการทำธูป   โดยในครั้งแรกเราจะทดสอบโดยทำเพียงแค่เล็กน้อยก่อนและในครั้งแรกนั้นพวกเรา ก็ไม่สามารถทำได้สำเร็จ  เนื่องจากเราผสมแป้งเปียกกับผงสมุนไพรและส่วนผสมอื่นๆเหลวเกินไป  ทำให้เมื่อเรานำไปอบรูปทรงของธูปเปลี่ยนแปลงไปและด้านในยังไม่แห้ง   พวกเราเลยเอาธูปที่ใช้ไมได้จากการทำในครั้งแรกมาลองปั้นใหม่และตากแดดอีก ครั้งเพื่อให้ธูปแห้งปรากฎว่าใช้งานได้  พวกเราเลยผสมแป้งให้ข้นขึ้น  ทำให้ในครั้งที่2เราสามารถทำธูปได้สำเร็จสมบุรณ์     และสุดท้ายก็มาทดสอบการเผาไหม้และกลิ่นของธูป  จนได้ธูปจากสมุนไพรซึ่งคุรภาพเทียบเท่าท้องตลาด


       แนวทางในการดำเนินงานต่อเนื่อง
 
      1.  ในการผสมแป้งเปียกที่ได้ตามที่ต้องการ จะมีการจดสูตรเอาไว้
       2.  การหาสมุนไพร  ถ้าบ้านสมาชิกคนไหนมีเยอะก็เอามา  แต่บางชนิดก็ขอมาจากร้านค้า
            เช่น  พวกเปลือกผลไม้
       3.  ส่วนเรื่องเวลาก็ต้องบริหารให้ดีและจะหาเวลา เพื่อนัดกันทำโครงงาน
       4.  ในการปั้นธูปจะระวังเป็นพิเศษ เพื่อจะได้อัดธูปให้แน่น
       5.   สภาพอากาศเมื่อตากธูปเอาไว้  จะต้องตรวจสอบสภาพอากาศก่อน หรือไม่ก็ให้ผู้ปกครอง
            ที่บ้านช่วยดูให้



  เอกสารอ้างอิง


      http://www.burana.biz/_tps-14/marticle.php?Ntype=1

      http://www.burana.biz/_tps-14/martic.php?id=82275

      http://www.burana.biz/_tps-14/marticle.php?id=82911

      http://www.burana.biz/

0 ความรู้สึก: